ในฐานะที่ทำวิจัยเกี่ยวกับ supervised learning หรือการเรียนรู้แบบมีตัวอย่าง ที่เป็นเทคนิคที่อาศัยการอุปนัย ซึ่งก็คือ การสรุปหรือสร้างกฎเกณฑ์หรือโมเดลจากตัวอย่างที่พบซ้ำๆ ด้วยเหตุนี้จึงมักจะสงสัยอยู่บ่อยๆ ว่า มนุษย์เราต้องการตัวอย่างจำนวนเท่าไหร่เป็นอย่างน้อย จึงสามารถหาข้อสรุปเป็นกฎเกณฑ์สำหรับพฤติกรรมได้ เคยลองอะไรเล่นๆ กับนักศึกษาอยู่เหมือนกัน คือ ลองประกาศไว้ก่อนว่าจะมีการสอบย่อยเสมอๆ โดยไม่ระบุวันที่จะมีสอบย่อยจะสุ่มเอา แต่พอลองมีสอบย่อยสัปดาห์เว้นสัปดาห์อยู่หลายๆ ครั้ง ก็พบว่าคนส่วนใหญ่จะสร้างกฎขึ้นมาว่ามีสอบย่อยสัปดาห์เว้นสัปดาห์ ถ้าสอบติดกันเมื่อไหร่ก็จะมีคนบ่นว่าทำไมสอบติดกัน
หรือที่เพิ่งเจอ ก็คือ ส่งเมลไปบอกก่อนสอบย่อยครั้งแรก ว่าจะมีสอบย่อย แต่พอครั้งที่สอง ไม่ได้ส่งเมลไป ปรากฏว่ามีนักศึกษาบ่นเหมือนกันว่าทำไมไม่เห็นส่งเมลมาบอกเลย มีตัวอย่างแค่หนึ่งตัวอย่างเท่านั้น ก็สรุปได้แล้วหรือว่าจะส่งเมลไปบอกทุกครั้ง แต่คิดว่าเรื่องนี้คงเกี่ยวกับเนื้อหาของสิ่งนั้นๆ ด้วย เช่น ความสำคัญของการสอบย่อย หรือความพอใจหรือไม่พอใจ เอาไว้ค่อยหาทางลองใหม่ :)