21 November 2006

อุปนัย

ในฐานะที่ทำวิจัยเกี่ยวกับ supervised learning หรือการเรียนรู้แบบมีตัวอย่าง ที่เป็นเทคนิคที่อาศัยการอุปนัย ซึ่งก็คือ การสรุปหรือสร้างกฎเกณฑ์หรือโมเดลจากตัวอย่างที่พบซ้ำๆ ด้วยเหตุนี้จึงมักจะสงสัยอยู่บ่อยๆ ว่า มนุษย์เราต้องการตัวอย่างจำนวนเท่าไหร่เป็นอย่างน้อย จึงสามารถหาข้อสรุปเป็นกฎเกณฑ์สำหรับพฤติกรรมได้ เคยลองอะไรเล่นๆ กับนักศึกษาอยู่เหมือนกัน คือ ลองประกาศไว้ก่อนว่าจะมีการสอบย่อยเสมอๆ โดยไม่ระบุวันที่จะมีสอบย่อยจะสุ่มเอา แต่พอลองมีสอบย่อยสัปดาห์เว้นสัปดาห์อยู่หลายๆ ครั้ง ก็พบว่าคนส่วนใหญ่จะสร้างกฎขึ้นมาว่ามีสอบย่อยสัปดาห์เว้นสัปดาห์ ถ้าสอบติดกันเมื่อไหร่ก็จะมีคนบ่นว่าทำไมสอบติดกัน

หรือที่เพิ่งเจอ ก็คือ ส่งเมลไปบอกก่อนสอบย่อยครั้งแรก ว่าจะมีสอบย่อย แต่พอครั้งที่สอง ไม่ได้ส่งเมลไป ปรากฏว่ามีนักศึกษาบ่นเหมือนกันว่าทำไมไม่เห็นส่งเมลมาบอกเลย มีตัวอย่างแค่หนึ่งตัวอย่างเท่านั้น ก็สรุปได้แล้วหรือว่าจะส่งเมลไปบอกทุกครั้ง แต่คิดว่าเรื่องนี้คงเกี่ยวกับเนื้อหาของสิ่งนั้นๆ ด้วย เช่น ความสำคัญของการสอบย่อย หรือความพอใจหรือไม่พอใจ เอาไว้ค่อยหาทางลองใหม่ :)

4 comments:

Anonymous said...

นั่น พวกเราเป็นหนูทดลองของอาจารย์นั่นเอง!

ezybzy said...

ผมคิดว่าการบอกครั้งแรก แล้วครั้งต่อไปไม่ได้บอกมันไม่น่าจะเป็นอุปนัยนะครับ แต่ผมกลับคิดว่า พวกเขาคิดว่าเป็นหน้าที่ของอาจารย์ที่ต้องส่งเมล์ไปแจ้งพวกเขาว่าจะสอบย่อยนะ (เกิดความคาดหวัง) พอครั้งต่อไปอาจารย์ไม่ส่งไปก็เกิดความผิดหวัง ทำให้เกิดเสียงบ่นไม่พอใจขึ้นมา
ก็ถ้าทดลองเป็นส่งบ้างไม่ส่งบ้าง (แต่มีรูปแบบที่แน่นอน) ก็อาจจะเกิดอุปนัยขึ้นมาได้

oholit said...

ผมไม่รุ้ว่าอุปนัยแปลว่าอะไร
แนวๆ ว่าตีความปล่าวคับ
นึกออกเลยตอนที่เรียน AI กะอาจารย์ ที่ช่วงแรกๆอาจารย์จะบอกว่าอาทิตย์ไหนจะมี quiz แต่หลังๆ มากลับไม่บอก มันก็ถูกของอาจารย์นะ เพราะอาจารย์ก็ไม่ได้ตกลงกะนักเรียนไว้ว่าจะบอกถ้ามี quiz
นักเรียนก็ตีความกันไปเอง หลังจากที่อาจารย์บอกครั้งแรกๆ ว่ากลายเป็นหน้าที่อาจารย์ ที่ต้องบอกนักเรียน

ส่วนเรื่องสัปดาห์เว้นสัปดาห์ลืมไปและ คงจะนานเกิน :P

เอาเป็นว่าอยากให้อาจารย์ลองศึกษาความเป็นมนุษย์ ดูคับ

Anonymous said...

กลายเป็นหนูทดลองตั้งแต่เมื่อไหร่นี่เรา!!!
ตอนนี้ใช้ถามอาจารย์เอาง่ายกว่า ว่ามีquizหรือเปล่า